วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

 
ประวัติวันขึ้นปีใหม่
 
วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุก 4 ปี
ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน
เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน
วันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต
แต่ในปี พ.ศ. 2125 วสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา


วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ยาเสพติด น้ันมีโทษ


สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ความรู้เกี่ยวกับสารกล่อมสิ่งเสพติดและการป้องกัน
สิ่งเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
  1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
  2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
  3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

เนื้อหา

  [ซ่อน

[แก้]ประเภทของสิ่งเสพติด

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
  1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
  3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
  4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ กัญชา
จำแนกตามแหล่งที่มา
  1. จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ
  2. จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
  1. พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ
  2. พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน

[แก้]สาเหตุของการติดยาเสพติด

การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
  • ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่
  • เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
  • ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
  • สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
  • ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
  • อาจติดจากการเล่นการพนัน หรือ เกม

[แก้]การสังเกตผู้ติดยาเสพติด

ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ
  • ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
  • อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
  • ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
  • ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
  • ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
  • ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
  • ขโมย ปล้น ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
  • ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความจริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ.

[แก้]ป้องกันยาเสพติด

  1. ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
  2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
  3. ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีลอยกระทงภาคกลาง

Written by admin on May 4th, 2012
การลอยกระทงของภาคกลางซึ่งเป็นที่มาของการลอยกระทงที่นิยมปฏิบัติกันทั้งประเทศนั้น มีหลักฐานว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีพระราชพิธี “จองเปรียงลดชุดลอยโคม”ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เรียกพิธีนี้ว่า “ลอยพระประทีปกระทง” เนื่องจากโปรดให้ทำเป็นกระทงใหญ่ บนแพหยวกกล้วย ตกแต่งอย่างวิจิตรพิศดารประกวดประชันกัน แต่ในรัชกาลต่อมาก็โปรดให้เปลี่ยนกลับเป็นเรือลอยพระประทีปแบบสมัยอยุธยา ในสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดให้เลิก พิธีนี้เสียเพราะเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง กระทงของภาคกลางมี ๒ ประเภทคือ กระทงแบบพุทธ เป็นกระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบกระบือ ก้านพลับพลึง ใบโกศล หรือวัสดุธรรมชาติที่หาได้ตามท้องถิ่นและประดับด้วยดอกไม้สดต่างๆ ภายในกระทงจะตั้งพุ่มทองน้อย ถ้ากระทงใหญ่จะใช้ ๓ พุ่ม กระทงเล็กใช้พุ่มเดียวและธูปไม้ระกำ ๑ ดอก เทียน ๑ เล่ม และวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น กระทงแบบพราหมณ์ วิธีการทำเช่นเดียวกับการทำกระทงแบบพุทธ จะแตกต่างกัน คือไม่ มีเครื่องทองน้อย บางท้องถิ่นจะมีการใส่หมากพลู เงินเหรียญ หรือตัดเส้นผมเล็บมือ เล็บเท้า เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ไปในตัว เป็นพิธีความเชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาพรามณ์ วัตถุประสงค์ของการลอยกระทง ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญที่คนไทยได้สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์หลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเพณีความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น ๑เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพุทธมารดา ๒.เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ๓. เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ...
Written by admin on May 4th, 2012
การลอยกระทงของชาวใต้ส่วนใหญ่นำเอาหยวกมาทำเป็นแพบรรจุเครื่องอาหารแล้วลอยไปแต่มีข้อน่าสังเกตคือ การลอยกระทงทางภาคใต้ ไม่ มีกำหนดว่าเป็นกลางเดือน ๑๒ หรือเดือน ๑๑ ดังกล่าวแล้ว แต่จะลอยเมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อให้หายโรคภัยไข้เจ็บที่ตนเป็นอยู่ เป็นการลอยเพื่อสะเดาะเคราะห์การตกแต่งเรือหรือแพลอยเคราะห์ จะมีการแทงหยวก เป็นลวดลายสวยงามประดับด้วยธงทิว ภายในบรรจุดอกไม้ ธูปเทียน เงินและเสบียงต่างๆ ตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น
Written by admin on May 4th, 2012
การลอยกระทงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เทศกาลไหลเรือไฟ จัดเป็นประเพณียิ่งใหญ่ในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดนครพนม โดยการนำหยวกกล้วยหรือวัสดุต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตามลำน้ำโขงดูสวยงามตระการตาซึ่งเป็นพิธีที่ได้สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ ความเป็นมาของประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณีไหลเรือไฟเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ชาวอีสานสืบทอดปฏิบัติในเทศกาลออกพรรษา ทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ถึงแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ตามแม่น้ำลำคลอง จังหวัดที่มีการไหลเรือไฟปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอุบลราชธานี โดยเฉพาะชาวนครพนมนั้นถือเป็นประเพณีสำคัญมาก เรือไปหรือที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า เฮือไฟ เป็นเรือที่ทำด้วยกล้วยหรือไม้ไผข้างในของเรือบรรจุด้วยข้าวต้มมัดหรือสิ่งของที่เราต้องการจะบริจาค ข้างนอกมีเรือมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดเรือให้สว่างไสวก่อนที่จะปล่อยเรือ ซึ่งเรียกว่า การไหลเรือไฟมูลเหตุของการไหลเรือไฟนั้นมีคตินิยมเช่นเดียวกับการลอยกระทง มีประเด็นความเชื่อ คือ ๑.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท ๒.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระรัตนตรัย ๓.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพระแม่น้ำคงคา ๔.ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาพญานาค เรือไฟโบราณ ใช้ต้นกล้วยต่อกันเป็นแพรให้มีลักษณ์คล้ายกาบกล้วยตกแต่งด้วยดอกไม้สดที่หาได้ตามท้องถิ่น พร้อมวัสดุต่างๆตามความเชื่อของคนในท้องถิ่นใส่ลงไปภายในตัวเรือ เรือไฟขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้ไผ่มัดต่อกันเป็นแพลูกบวบ ขึ้นโครงไม้ไผ่เป็นฉากดัดโครงลวดเป็นรูปทรงต่างๆ ส่วนใหญ่จะประดิษฐ์เป็นรูปเรือ รูปพญานาค นำไปผูกติดกับโครงไม้ไผ่ ใช้ขี้ไต้หรือขวดน้ำมันใส่ใส้ผูกติดกับโครงลวดเป็นระยะขึ้นอยู่กับรูปภาพที่กำหนด
Written by admin on May 4th, 2012
การลอยกระทงของคนในภาคเหนือ นิยมทำกันในเดือนยี่เป็ง เพื่อบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเชื่อกันว่าท่านบำเพ็ญบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก หรือสะดือทะเล ตรงกับคติของชาวพม่า แต่ในปัจจุบันได้มีการจัดงานวันลอยกระทงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๑๒ โดยจัดเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ในหลายๆจังหวัด เช่น ประเพณีกระทงสาย ของจังหวัดตากเป็นพิธีที่น้ำเอาพระพุทธศาสนาภูมิปัญญาของชาวบ้าน มาหล่อหลอมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่น ซึ่งชาวบ้านได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งจะมีลักษณะที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น เมื่อเราน้ำกระทงมาลอยกระทงจะไหลไปตามร่องน้ำเกิดเป็นสายยาวต่อเนื่องทำให้แสงไฟของกระทงส่องแสงระยิบระยับเป็นสายยาวทำให้ดูแล้วสวยงามมาก ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาเป็นการประกวดกระทงสวย ส่วนประกอบของกระทงสาย มีดังนี้1.กระทงนำ เป็นกระทงที่มีขนาดที่ใหญ่ที่ตกแต่งด้วยใบตองสด ซึ่งประกอบไปด้วยดอกไม้สดหลากหลายที่สันที่มีความสวยงามพร้อมมีผ้าสบง เครื่องกระยาบวช หมาก พลู ขนม ฯลฯ เพื่อทำพิธีจุดธูปเทียวบูชาแม่น้ำคงคาและบูชาพระพุทธเจ้า และจากนั่นก็น้ำลงลอยเป็นอันดับแรก2.กระทงตาม เป็นกระทงกะลามะพร้าวที่ไม่มีรู นำมาขัดถูให้สะอาด ภายในกะลานี้ ใส่ด้ายดิบที่ฟั่นเป็นรูปตีนกา แล้วหล่อด้วยเทียนไขหรือน้ำผึ้ง สำหรับเป็นเชื้อไฟจุดก่อนปล่อยลงลอย3.กระทงปิดท้าย เป็นกระทงขนาดกลาง ที่ตกแต่งอย่างสวยงามคล้ายกระทงน้ำแต่มีขนาดที่เล็กกว่า เป็นการบ่งบอกถึงการสิ้นสุดการลอยของสายนั่นๆ
Written by admin on May 4th, 2012
ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชน หรือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ผู้คนในสุวรรณภูมิรูว่าชีวิตอยู่ได้ก็เพราะน้ำและดินเป็นสำคัญและน้ำเป็นสิ่งที่น้ำสำคัญที่สุดแก่ชีวิตของคนเราหากเราขาดแคลนน้ำก็จะทำให้ชีวิตเรารำบากมากยิ่งขึ้น ดังนั่น เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่รอดได้ปีหนึ่ง จึงทำพิธีขอขมาสิ่งที่ได้ล่วงล้ำก่ำเกินโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยการใช้วัสดุที่ย้อยสลายได้และสามารถลอยน้ำได้ใส่เครื่องเส้นไหว้ให้ลอยไปกับน้ำ สำหรับราชสำนักกรุงศรีอยุธยา ที่อยู่บริเวณราบลุ่มน้ำ และมีน้ำท่วมนานหลายเดือน ก็เป็นศูนย์กลางสำคัญที่จะสร้างสรรค์ประเพณีเกี่ยวกับน้ำขึ้นมาเป็น ประเพณีหลวง ของอาณาจักร ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่ชาวไทยส่วนใหญ่ให้การนับถือและให้การยอมรับเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประเพณีลอยกระทงได้จัดขึ้นทุกๆปีในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัยก็ไม่ มีปรากฏชื่อ “ลอยกระทง” แม้แต่ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงก็มีแต่ชื่อ “เผาเทียน เล่นไฟ”ที่มีความหมายอย่างกว้างๆ ว่า การทำบุญไหว้พระ ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยแรกๆ ก็มีแต่ชื่อ ชักโคม ลอยโคม แซวนโคม และลดชุดลอยโคมลงน้ำ ในพิธีพราหมณ์ของราชสำนักเท่านั้น และแม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรีก็ไม่มีชื่อนี้จนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงมีปรากฏชัดเจนในพระราชพงศาวดารแผ่นดิน รัชกาลที่ ๓ฉบับ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และเรื่องนางนพมาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๓ ซึ่งก็หมายความว่า คำว่า “ลอยกระทง” เพิ่งปรากฏในต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เองอนึ่ง ประเพณีลอยกระทงที่ทำด้วยใบตองในระยะแรก จำกัดอยู่แต่ในราชสำนักกรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดพรรณาอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ราชธิดาองค์โปรดได้แต่งกระทงเล่นทุกปี เมื่อนานเข้าก็เริ่มแพร่หลายสู่ราษฎรในกรุงเทพแล้วขยายไปยังหัวเมืองใกล้เคียงในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และกว่าจะเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วประเทศก็ประมาณปี ...
Written by admin on May 4th, 2012
ลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำคัญและเก่าแก่ของไทย ตรงกับวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหลาก มีที่มากจากพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งปัจจัยสำคัญในวัฒนธรรมของไทย ถึงแม้จุดมุ่งหมายความเชื่อในวันลอยกระทงจะแตกต่างกัน แต่ความหมายที่เหมือนกันของประเพณีลอยกระทงก้อคือ การแสดงออกถึงความกตัญญู รู้จักสำนึกถึงคุณค่าของน้ำ ที่ช่วยให้เรามีชีวิตที่ดี นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทย ปัจจุบันประเพณีลอยกระทงได้ถูกดัดแปลงไปบ้าง การให้ความสำคัญของความหมายของวันลอยกระทง คุณค่า สาระและแนวทางที่พึ่งปฏิบัติน้อยลง จึงได้จัดทำหนังสือเกี่ยวกับวันลอยกระทงขึ้น เพื่อเผยแพร่ ความหมาย คุณค่าสาระ แนวปฏิบัติ ตลอดจนธรรมเนียมที่ถูกต้องเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อให้คนรุ่นต่อไปไปได้น้ำมาศึกษาค้นคว้าและหวังอย่ายิ่งว่าจะเป็นแนวทางการปฏิบัติและการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเพณีลอยกระทง ลอยกระทง เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณในช่วงวันเพ็ญ ๑๒ พระจันทร์เต็มดวง แสงจันทร์สอดส่องสว่างไสว แม่น้ำใสสะอาด เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง เพื่อแสดงถึงความเคารพและการสำนึกบุญคุณของแม่น้ำคงคา และอื่นๆ ตามคติความเชื่อของแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นโดยใช้เป็นสื่อการในการอธิฐาน และวันลอยกระทงที่จะมาถึง ในวันที่๒๑ พฤศจิกายน ขอเชิญให้ประชาชนไทยทั่วประเทศ ร่วมสืบทอดประเพณีลอยกระทงอันดีงามนี้ไว้เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยไม่ให้เสื่อมสูญ
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่ประวัติ
เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

[

แก้] ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมาคงคา

ด้วย